CHAT BOX

ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสามแยกหนองลีพันธุ์ข้าว...ติดต่อสอบถามได้ทุกวัน หรือ ฝากเรื่องไว้ที่โปรแกรมหน้าเว๊ปไซต์ ขอบคุณล่วงหน้า

Please contact us with all your heart ... agriculture or the program's web site. Thanks in advance.

โปรแกรมสำเร็จรูปส่งเมล์

กล่องคอมเม้นเฟสบุ๊ค

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วางจำหน่ายแล้ววันนี้ !!! พันธุ์ข้าว CP111 ---ซีพี111




สามแยกหนองลีพันธุื์ข้าว จำหน่ายพันธุ์ข้าว ซีพี111













 
ลักษณะเด่น CP111
  ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 
  ผลผลิตสูง 1,362 กิโลกรัมต่อไร่ (ผลผลิตเฉลี่ย 1,037 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ความชื้น 25%)
   
ลักษณะประจำพันธุ์
  ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง
  ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง
  อายุเก็บเกี่ยว 115-120 วัน
  เปอร์เซนต์ข้าวต้น 40-50%
  ปริมาณอมิโลส 28%
  รวงยาว เมล็ดต่อรวงมาก
  ทรงกอตั้ง แตกกอดี


ชนิดข้าว
      ข้าวเจ้า
ประวัติ
      เกิดจากการผสมระหว่างข้าว  Indica กับ Indica  ณ สถานีวิจัยข้าวฟาร์มกำแพงเพชร และทดสอบโดยงานวิจัยข้าวลูกผสมเมื่อ ปี พ.ศ. 2545
ลักษณะประจำพันธุ์ C.P.304 1. เป็นข้าวเจ้า ความสูงประมาณ 110-115 เซนติเมตร
2. เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ทั้งนาปี  และ นาปรัง
3. อายุเกี่ยวประมาณ 100 - 105 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพดิน และ ฤดูกาล
4. ลำต้นตั้งตรง ใบ และกาบใบมีสีเขียว ใบธงตั้งตรง คอรวงสั้น
5. ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดี
6 . เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง  เมล็ดยาว 7.4 มิลลิเมตร
7. ความยาวรวงประมาณ 25-30 เซนติเมตร จำนวนเมล็ด/รวงประมาณ 250 เมล็ด
8. ปริมาณอมิโลส 23 – 24 % คุณภาพข้าวสุก ร่วนนุ่มปานกลาง
9. เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นประมาณ 45-50 %
ซี พี เอส ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้งพันธุ์ลูกผสม และข้าวพันธุ์แท้ แก้ปัญหาโรค-แมลงแถมให้ผลผลิตสูง ตอบสนองความต้องการชาวนาทั่วประเทศ    ปัจจุบันการขยายพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร  โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวไม่ใช่เรื่องง่าย   เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ที่มีอยู่  ในขณะที่ประชากรโลกนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ความต้องการอาหารเพื่อการยังชีพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย  จากข้อจำกัดดังกล่าวทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพัฒนาและเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่  โดยเฉพาะข้าวซึ่งถือว่าเป็นอาหารหลักให้เพียงพอกับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่ม ขึ้น  ในส่วนของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด  ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิการผลิตข้าวของเกษตรกรไทยให้สามารถแข่ง ขันกับประเทศผู้ผลิตรายอื่นได้แล้ว ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นยังช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น  และทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดประโยชน์สูดสุดอีกด้วย  จึงเป็นที่มาของการพัฒนาพันธุ์ ข้าวลูกผสม”  และ  พันธุ์ข้าวสายพันธุ์แท้”  ที่ให้ผลผลิตสูงในสภาพแวดล้อมเหมาะสมและมีการจัดการดูแลที่ดี    เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
      คุณเกรียงไกร อังอำนวยศิริ นักวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าว บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด กล่าวถึงเรื่องของข้าว  และการพัฒนาพันธุ์พันธุ์ดีเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ข้าวเป็นพืชที่ผสมตัวเอง ซึ่งตามปกติจะเกิดขึ้นภายในดอกเดียวเป็นหลัก   ส่วนการผสมเกสรแบบข้ามต้นจะเกิดขึ้นเพียง  0.5-5%  เท่านั้น    โดยการผสมเกสรภายในดอกเดียวกันจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า   ก่อนที่เปลือกนอกแผ่นใหญ่  และเปลือกนอกแผ่นเล็กของดอกข้าวจะบาน  หลังจากการผสมเกสรดอกข้าวจะเริ่มบานจากปลายรวงลงมาสู่โคนของรวงข้าว    โดยรวงข้าว  1  รวงจะใช้เวลาในการผสมเกสรครบทุกดอกประมาณ สัปดาห์  สำหรับ  ข้าวพันธุ์ทั่วไป (Ordinary Rice) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีการคงตัวทางพันธุ์กรรม กล่าวคือเมื่อเก็บเมล็ดข้าวไปปลูกจะได้ต้นข้าวที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวที่ เก็บมา อย่างไรก็ตามพันธุ์ข้าวดังกล่าวจะให้ผลผลิตเฉลี่ยค่อนข้างต่ำประมาณ 600-800กิโลกรัมต่อไร่   ขณะที่  ข้าวลูกผสม หรือ Hybrid Rice หมายถึง ข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อแม่ที่มีพื้นฐานทางพันธุกรรมต่างกัน ซึ่งในทางทฤษฎีเมื่อนำพ่อแม่ที่มีความแตกต่างกันมาผสมพันธุ์กัน ลูกผสมชั่วที่ 1 จะมีความแข็งแรงหรือมีความดีเด่นในลักษณะบางอย่าง เช่น ผลผลิตเหนือกว่าพ่อแม่ ซึ่งอาจเป็นความดีเด่นเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ หรืออาจเหนือกว่าพ่อหรือแม่
     ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมได้นำเอาหลักการความแข็งแรงของลูกผสม ที่ดีเด่นกว่าพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ในการให้ผลผลิตที่สูงกว่ามาใช้  จึงเป็นสาเหตุให้ข้าวลูกผสมมีข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรถึง 7 ประการ  ดังนี้
 1.ข้าวลูกผสมให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ20-30%ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
 2.ข้าวลูกผสมไม่มีปัญหาเรื่องพันธุ์ปน อีกทั้งยังมีระบบรากที่แข็งแรงและแผ่กระจายมากกว่า
 3.ข้าวลูกผสมมีจำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ยมากถึง 250 เมล็ด/รวงขึ้นไป กรณีปลูกในฤดูกาลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
 4ในการผลิตข้าวเชิงการค้าข้าวลูกผสมให้ผลตอบแทนที่มากกว่าข้าวสายพันธุ์แท้
  5.เป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวโดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูก
  6.ลดการใช้สารเคมีเพราะข้าวลูกผสมมีความต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว
 7.ประหยัดการใช้น้ำและเพิ่มรอบการปลูก   เนื่องจากข้าวลูกผสมมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นกว่าข้าวพันธุ์ทั่วไป 
 คุณเกรียงไกร  ขยายความว่า   ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่เริ่มมีการวิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมเมื่อปี พ.ศ. 2507  หลังจากที่ ศ.หยวน หลงปิง ค้นพบข้าวกอหนึ่งในดงข้าวป่าที่เกาะไห่หนาน (ไหหลำ) ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่เกสรตัวผู้ไม่พัฒนา โดยตั้งชื่อว่าแหย่ป้ายหมายถึงข้าวป่าที่เกสรตัวผู้เสื่อมด้อย จากนั้น ข้าวลูกผสมชุดแรกจึงได้เกิดขึ้นในแผ่นดินจีน และทยอยออกมาอีกหลายสายพันธุ์ตามความเหมาะสมในแต่ละท้องที่ของประเทศจีน โดยแต่ละสายพันธุ์ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลงานนี้ทำให้ ศ.หยวน ลองปิง ได้รับการยกย่องในวงการเกษตรของจีนและของโลก
ทั้งนี้  ประเทศจีนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเพื่อการ ค้า โดยเริ่มมีการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 และมีพื้นที่ปลูกข้าวลูกผสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2538 ประเทศจีนมีพื้นที่ปลูกข้าวลูกผสมถึง 58 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 112.5 ล้านไร่ นอกจากนี้ยังได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งชาติในปี พ.ศ.2538
     ในส่วนของประเทศไทยเริ่มงานวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวลูกผสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ได้นำข้าวลูกผศมจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปลูกทดสอบ ในปี พ.ศ. 2523 จัดตั้งโครงการวิจัยการผลิตข้าวลูกผสม และในปี พ.ศ. 2524 ได้ร่วมมือกับ IRRI ดำเนินการวิจัยการผลิตข้าวลูกผสมในระบบ 3 สายพันธุ์ ผลการดำเนินงานในช่วงแรก พบว่า สายพันธุ์ข้าวลูกผสมที่นำมาจากต่างประเทศไม่เหมาะสมสำหรับการปลูก หรือใช้ในประเทศไทย จึงได้มีความพยายามสร้างสายพันุธุ์ข้าวลูกผสมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตข้าว ลูกผสมในประเทศไทย โดยดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และสถานีทดลองข้าวเครือข่าย ผลการดำเนินงานตั่งแต่ พ.ศ. 2524 – 2538 สามารถสร้างสายพันธุ์เรณูเป็นหมัน (A) ในสายพันธุ์ข้าวไทยได้หลายสายพันธุ์ โดยใช้พันธุกรรมข้าวจาก IRRI ที่มีไซโตรพลาสซึมเป็นหมันชนิด WA และค้นพบสายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (R) ได้จำนวนหนึ่ง และจากการประเมินผลผลิต พบว่า ข้าวลูกผสม (F1) หลายคู่ผสมให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวมาตรฐานของไทย (สุชาติ และคณะ,2545)
     คุณเกรียงไกร  กล่าวว่า   ในส่วนของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ได้เริ่มดำเนินงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของประเทศ ให้มีผลผลิตสูงขึ้นทัดเทียมกับประเทศคู่แข่ง เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา เวียตนาม  ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าประเทศไทย เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีการใช้ข้าวลูกผสมอย่างแพร่หลาย ข้าวลูกผสม จึงเป็นหนึ่งในความหลากหลายทางการเกษตร และเป็นหนึ่งในทางเลือกของเกษตรกรไทย โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีความพร้อม มีที่ดินทำนาในเขตชลประทาน มีการจัดการที่ดีทั้งในการเตรียมดิน การใช้ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช การเพาะกล้า และเก็บเกี่ยว ก็จะสามารถปลูกข้าวลูกผสมได้ผลผลิตดี เพิ่มผลผลิตให้กับประเทศไทย

    ข้าวเจ้าลูกผสมพันธุ์ CP304 ทำการปรับปรุงพันธุ์ และปลูกคัดเลือกที่ จ.กำแพงเพชร (ฟาร์มกำแพงเพชร)     โดยงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด  ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544   เป็นข้าวลูกผสมชนิด3 สายพันธุ์  เริ่มทำการปรับปรุงพันธุ์ ในฤดูนาปรัง ปีพ.ศ.2544 ถึง ฤดูนาปรัง 2 ปีพ.ศ.2546  ข้าวลูกผสมสายพันธุ์ CP304เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103 -104 วัน ปลูกโดยวิธีปักดำ ความสูงประมาณ 102 -104   เซนติเมตร ต้นค่อนข้างแข็ง ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ผลผลิตเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัมต่อ  เมล็ดข้าว CP304  มีลักษณะเมล็ดยาว 7.56  มิลลิเมตร กว้าง 2.11  มิลลิเมตร หนา 1.81  มิลลิเมตร  ท้องไข่มีน้อย 0.61   อมิโลส 26.68 เปอร์เซ็นต์  ข้าวเมื่อหุงสุกแล้ว จัดเป็นข้าวสวยประเภทร่วนแข็ง 
     ข้าวลูกผสม CP304 เหมาะกับพื้นที่นาชลประทานที่เกษตรกรมีความพร้อมและดินอุดมสมบูรณ์ต้องการ เพิ่มผลผลิตด้วยการเพิ่มรอบการทำนา หลายครั้งต่อปี พื้นที่มีน้ำท่วมขัง และ เกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆ และพื้นที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด  และเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
 ข้อควรระวัง
    เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมากอาจจะเสียหายจากการทำลายของนกและ หนู ข้าวพันธุ์นี้ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ถ้าพบอาการของโรคควรพ่นสารเคมี ป้องกันโรคจากเชื้อราตามความจำเป็น  เก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์นี้ให้ได้ตามอายุ และ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ถ้าพบมีการอพยพของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจำนวนมากเข้าทำลายทุกวัน ต้องป้องกันการทำลายข้าวควรพ่นสารเคมีป้องกันตามความจำเป็น
ข้าวCP111 ข้าวสายพันธุ์แท้เพื่อทางเลือกของเกษตรกร
        ข้าวเจ้าพันธุ์ CP111 ทำการปรับปรุงพันธุ์ และปลูกคัดเลือกที่ จ.กำแพงเพชร (ฟาร์มกำแพงเพชร)     โดยงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในปี 2546 ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ในฤดูนาปี 2547 ปลูกคัดเลือกชั่วที่ 2 ถึง 8 ในฤดูนาปี 2548 ถึงฤดูนาปี 2551 ทำการศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตในฤดูนาปี 2553 ถึงฤดูนาปรัง 2553 ที่ สถานีวิจัยข้าวลูกผสม ฟาร์มกำแพงเพชร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด จังหวัดกำแพงเพชร  และแปลงทดสอบจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ในฤดูนาปี 2553 ถึงฤดูนาปรัง 2554 ข้าวพันธุ์ CP111  เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อแสง ความสูงประมาณ 135 – 140 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว 115 – 118 วัน (ปลูกแบบนาดำ) ผลผลิตเฉลี่ย 850 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรง ไม่ล้ม แตกกอดี  ใบธงตั้ง รวงอยู่ใต้ใบ รวงยาว  ขนาดข้าวกล้อง ยาว 7.36 กว้าง 2.14 หนา 1.84 มม.  คุณภาพทางเคมี เป็นข้าวอมิโลสสูง (28%) ไม่หอม คุณภาพการรับประทาน ข้าวสวยเมื่อหุงสุกจะมีลักษณะร่วนค่อนข้างแข็ง
เส้นทางการผลิตกว่าจะได้มาเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี ออกนำเสนอแก่เกษตรกร ทั้งข้าวลูกผสม ซี พี 304 และข้าวพันธุ์แท้ ซีพี 111 จะต้องผ่านขบวนการวิจัย และทดลองปรับปรุงพันธุ์จากคณะนักวิจัยของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการสร้างพันธุ์ข้าว จนได้เป็นสายพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดมานำเสนอแก่เกษตรกร เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ภายใต้ขบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบของกลุ่มชาวนาที่เรียกว่าชาวนา มืออาชีพและให้ชาวนามืออาชีพได้มีการพัฒนาการทำนาให้มีผลกำไรให้มากที่สุด ซึ่งนั่นก็คือได้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงที่สุดยิ่งๆขึ้นไปนั่นเอง